ข้อมูลพื้นฐานตำบล อบต.ขุนแม่ลาน้อย

ข้อมูลพื้นฐานตำบล

ประกาศเมื่อ 13 กรกฎาคม 2566

เปิดอ่าน 6523 ครั้ง

สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน

          จัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลขุนแม่ลาน้อย เมื่อ ๑๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๔๒ ที่ทำการตั้งอยู่       เลขที่ ๕๗  บ้านขุนแม่ลาน้อย ตำบลขุนแม่ลาน้อย อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน รหัสไปรษณีย์ ๕๘๑๒๐

ห่างจากที่ทำการอำเภอแม่ลาน้อย เป็นระยะทาง ๗๒ กิโลเมตร และห่างจากศาลากลางจังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นระยะทาง ๑๓๑ กิโลเมตร มีพื้นที่โดยประมาณ ๗๔,๗๗๘ ไร่ (๑๑๙.๖๕ ตารางกิโลเมตร) มีอาณาเขตติดต่อกับตำบล อำเภอ และจังหวัด ดังนี                                                                                                                             

ทิศเหนือ       ติดกับตำบลเมืองปอน        อำเภอขุนยวม           จังหวัดแม่ฮ่องสอน

ทิศใต้          ติดกับตำบลแม่นาจาง        อำเภอแม่ลาน้อย       จังหวัดแม่ฮ่องสอน

ทิศตะวันตก   ติดกับตำบลแม่โถ             อำเภอแม่ลาน้อย       จังหวัดแม่ฮ่องสอน

ทิศตะวันออก ติดกับตำบลปางหินฝน        อำเภอแม่แจ่ม           จังหวัดเชียงใหม่

          สภาพพื้นที่โดยทั่วไปของตำบลขุนแม่ลาน้อย  ส่วนใหญ่ประกอบด้วยภูเขาและป่าไม้  พื้นที่ราบมีเป็นส่วนน้อย ได้แก่ที่ราบลุ่มระหว่างหุบเขา ซึ่งประชากรใช้เป็นที่อยู่อาศัยและที่ทำกิน พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติสภาพภูมิอากาศของตำบลขุนแม่ลาน้อย เป็นแบบฝนเมืองร้อนเฉพาะฤดูกาล (Tropical samama dimate : AW) สามารถแบ่งฤดูกาลออกได้เป็น ๓ ฤดู ดังนี้

          ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่ต้นเดือนมีนาคมถึงปลายเดือนเมษายน ในช่วงนี้จะได้รับอิทธิพลจาก ลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ จะมีอากาศร้อนอบอ้าวทั่วไป และมีฟ้าหลัวเกือบทั้งวัน เดือนที่มีอากาศร้อนที่สุดประมาณเดือนเมษายน อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุด ๓๗ องศาเซลเซียส

          ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่ต้นปลายเดือนเมษายนถึงปลายเดือนตุลาคม โดยรับอิทธิพลของลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดผ่านทะเลและมหาสมุทรเป็นลมที่มมีความชื้นสูงทำให้ฝนตกชุกโดยทั่วไป

          ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่ต้นเดือนพฤสจิกายนถึงปลายเดือนกุมภาพันธ์ ได้รับอิทธิพลของลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดพามาจากประเทศจีน นำเอาอากาศหนาวเย็นเข้ามาปกคลุมอุณหภูมิต่ำสุดอยู่ในช่วง เดือนพฤศจิกายน – เดือนมกราคม อุณภูมิเฉลี่ยต่ำสุด ๙ องศาเซลเซียส

 

ชื่อหมู่บ้านและข้อมูลประชากร

ชื่อหมู่บ้านและจำนวนประชากร มีรายละเอียดดังนี้

หมู่ที่

ชื่อบ้าน

           จำนวนประชากร

จำนวน

 

 

ชาย

หญิง

รวม

ครัวเรือน

บ้านขุนแม่ลาน้อย

๔๐๐

๔๓๒

๘๓๒

๒๙๕

บ้านส้มป่อย

๓๕๖

๓๒๙

๖๘๕

๑๙๔

บ้านป่าแก่

๒๕๖

๒๓๒

๔๙๑

๑๕๘

บ้านฟักทอง

๑๘๘

๑๗๙

๓๖๗

๑๒๓

บ้านผาไหว

๓๓๔

๒๙๗

๖๓๑

๑๖๒

 

รวม

๑,๕๓๗

๑,๔๖๙

๓,๐๐๖

๙๓๒

( ข้อมูล ณ เดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๖๕ สำนักบริหารทะเบียน อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน กรมการปกครอง )

ข้อมูลพื้นฐานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ด้านโครงสร้างพื้นฐาน

การคมนาคม

สามารถเดินทางได้ตามถนนสายหลัก ๒ สาย คือ

๑. ถนนเชียงใหม่-แม่ฮ่องสอน (ทางหลวงหมายเลข ๑๐๘) และแยกเข้าสู่ถนนสายแม่โถ – ขุนแม่ลาน้อย เป็นถนนสายหลักในการเชื่อมต่อถนนเข้าไปภายในหมู่บ้าน

๒. ถนนสายแม่แจ่ม – ขุนแม่ลาน้อย คือการเดินทางจากอำเภอแม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ เข้าทางบ้านทุ่งพระพรหมู่ที่ ๔ หย่อมบ้านของบ้านฟักทอง การเดินทางของราษฎรโดยเส้นทางปกติที่นิยมใช้จากหมู่บ้านถึงที่ว่าการอำเภอ พาหนะที่นิยมใช้คือ รถจักรยายนต์ และการเดินทางถึงศาลากลางจังหวัด พาหนะที่นิยมใช้คือ รถโดยสารรับจ้างประจำทาง

การโทรคมนาคม

  • ตู้โทรศัพท์สาธารณะ จำนวน ๗ เครื่อง

การไฟฟ้า

ตำบลขุนแม่ลาน้อย ประกอบด้วยหมู่บ้านจำนวน ๕ หมู่บ้าน มีไฟฟ้าใช้ทั้ง ๕ หมู่บ้าน ยกเว้นบริวาร ๑ หมู่บ้าน คือ บ้านทุ่งพระพร

จากการสำรวจข้อมูลเมื่อวานที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๕๖ ประชากรในตำบลขุนแม่ลาน้อย จำนวน ๔๙๒ ครัวเรือน มีครัวเรือนที่มีไฟฟ้าใช้ จำนวน ๓๒๘ ครัวเรือน ครัวเรือนที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ จำนวน ๒๖ ครัวเรือน

ระบบประปาและแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภค

ในตำบลขุนแม่ลาน้อย ทุกหมู่บ้านได้ใช้ประโยชน์จากระบบประปาภูเขาและแหล่งน้ำธรรมชาติ มีครัวเรือนที่มีน้ำประปาภูเขาใช้ คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ ของจำนวนครัวเรือนทั้งหมด หมายเหตุ มีบางหมู่บ้านที่ยังต้องซ่อมแซมและปรับปรุง

แหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภคสามารถแยกได้ดังนี้

ที่

รายการ

จำนวน

คลองส่งน้ำ

๑๐

บ่อบาดาล บ่อตอก บ่อเจาะ   (ที่ใช้การได้)

-

สระน้ำ ขนาด ๑๐๐ ตารางวาขึ้นไป

-

แม่น้ำ  ลำคลอง

ฝาย พนังกั้นน้ำ

อ่างเก็บน้ำ

-

เหมือง

-

ห้วยลำธาร

หนอง  บึง

๑๐

รางน้ำ ประปาภูเขา

ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ทรัพยากรป่าไม้

ในเขตตำบลขุนแม่ลาน้อย ทั้งสิ้น ๗๔,๗๗๘ ไร่ เป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ๕๘,๕๓๐ ไร่ คิดเป็นร้อยละ ๖๒ ของจำนวนพื้นที่ทั้งหมด แต่สภาพป่าส่วนใหญ่มีความอุดมสมบูรณ์น้อยถึงปานกลาง เนื่องจากจำนวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้ความต้องการในด้านการใช้ที่ดินสูงขึ้นตามไปด้วย จึงเป็นสาเหตุทำให้เกิการบุกรุกทำลายป่า จำนวนพื้นที่ป่าจึงมีแนวโน้มลดลง ไฟป่าก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้พื้นที่ป่าลดลง ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ เช่น พวกหาของป่า ทำไร่เลื่อนลอย ทำไม้ การเลี้ยง และอื่นๆ

ทรัพยากรน้ำ

ตำบลขุนแม่ลาน้อย มีแหล่งน้ำตามธรรมชาติ แยกได้ดังนี้ แม่น้ำ จำนวน ๔ สาย

๑. แม่น้ำแม่ลา      ไหลผ่านหมู่บ้านทั้งสิ้น     ๑ หมู่บ้าน  คือ บ้านขุนแม่ลาน้อย

๒. แม่น้ำส้มป่อย    ไหลผ่านหมู่บ้านทั้งสิ้น     ๑ หมู่บ้าน  คือ บ้านส้มป่อย

๓. แม่น้ำอมลาน    ไหลผ่านหมู่บ้านทั้งสิ้น     ๑ หมู่บ้าน  คือ บ้านอมลาน

๔. แม่น้ำแม่ลาหลวง ไหลผ่านหมู่บ้านทั้งสิ้น    ๑ หมู่บ้าน  คือ บ้านฟักทอง

ด้านอุตสาหกรรม การค้าและบริการ

ที่

ประเภท

จำนวน

โรงสีข้าวขนาดเล็ก สีข้าวได้น้อยกว่าวันละ ๕ เกวียน

 ๔ แห่ง

โรงฆ่าสัตว์

-แห่ง

อุตสาหกรรมแปรรูปไม้ไผ่

-แห่ง

ร้านค้าปลีก

๑๐ร้าน

ร้านซ่อมยายนต์ รวมจักรยาน /เครื่องจักรอื่น

-ร้าน

สถานบริการน้ำมันเชื้อเพลิง

๔แห่ง

สถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ

๒แห่ง

ผู้รับเหมาก่อสร้าง

-ราย

 

ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการส่งเสริมให้เป็นผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ได้แก่ เป็นผลิตภัณฑ์ในโครงการเศรษฐกิจชุมชุน เช่น กลุ่มทอผ้า กลุ่มจักสาน กลุ่มแม่บ้าน (แปรรูปผลผลิตทางการเกษตร)

ด้านสังคม

การศึกษา

ด้านการศึกษาในตำบลขุนแม่ลาน้อย มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน ๒ แห่ง คือศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านขุนแม่ลาน้อย และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านส้มป่อย

โรงเรียนระดับประถมศึกษา จำนวน ๖ แห่ง คือ

โรงเรียนบ้านขุนแม่ลาน้อย

โรงเรียนบ้านส้มป่อย (ขยายโอกาสถึง มัธยมศึกษาปีที่ ๓)

โรงเรียนบ้านแม่ลาผาไหว

โรงเรียนบ้านป่าแก่

โรงเรียนบ้านอมลาน

โรงเรียนบ้านฟักทอง

สาธารณสุข

-สถานบริการด้านสาธารณสุข

๑. รพ.สต.ตำบลบ้านแม่ลาป่าแก่        จำนวน ๑ แห่ง

-บุคลากรทางด้านสาธารณสุข

๑) เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน       จำนวน ๑ คน

๒) พนักงานสุขภาพชุมชน                จำนวน ๑ คน

๓) เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล                 จำนวน ๑ คน

๔) แม่บ้าน                                  จำนวน ๑ คน

๕) พยาบาลวิชาชีพ                        จำนวน ๑ คน

๒. รพ.สต.บ้านขุนแม่ลาน้อย            จำนวน ๑ แห่ง

-บุคลากรทางด้านสาธารณสุข

๑) นักวิชาการสาธารณสุข               จำนวน ๑ คน

๒) เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน       จำนวน ๑ คน

๓) พยาบาลวิชาชีพ                       จำนวน ๑ คน

๔) เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล                 จำนวน ๑ คน

 

ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

          ในเขตพื้นที่ตำบลขุนแม่ลาน้อย ไม่มีสถานีตำรวจและสถานดับเพลิง แต่เป็นเขตรับผิดชอบของสถานีตำรวจภูธรตำบลแม่ลาหลวง

          อปพร ตำบลขุนแม่ลาน้อย จำนวน ๖๐ คน

 

ด้านสังคมและองค์กรศาสนา

          วัด / สำนักสงฆ์       จำนวน       –     แห่ง

          โบสถ์ คริสต์เตียน     จำนวน      ๑๐   แห่ง

          โบสถ์ คริสต์ตัง         จำนวน      ๙    แห่ง

 

ด้านการเมือง การบริหาร

การเมือง การปกครอง

บ้านขุนแม่ลาน้อย ประกอบด้วย ๕ หมู่บ้านหลัก ๑๒ หย่อมบ้าน ได้แก่

หมู่ที่ ๑ บ้านขุนแม่ลาน้อย       ประกอบด้วย ๒ หย่อมบ้าน คือ ขุนแม่ลาน้อย,ขุนแม่ลาน้อยใต้

หมู่ที่ ๒ บ้านส้มป่อย              ประกอบด้วย ๒ หย่อมบ้าน คือ ส้มป่อย,อมลาน

หมู่ที่ ๓ บ้านแม่ลาป่าแก่         ประกอบด้วย ๓ หย่อมบ้าน คือ ป่าแก่เหนือ,ป่าแก่ใต้,ป่าแก่กลาง

หมู่ที่ ๔ บ้านฟักทอง             ประกอบด้วย ๒ หย่อมบ้าน คือ ฟักทอง,ทุ่งพระพร

หมู่ที่ ๕ บ้านแม่ลาผาไหว       ประกอบด้วย ๓ หย่อมบ้าน คือ ผาไหวใต้,ผาไหวเหนือ,ผาไหวกลาง

 

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของคุณให้ดียิ่งขึ้น